การพัฒนาดัชนีมีเป้าหมายเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความพร้อมของระบบนิเวศนวัตกรรมรายอุตสาหกรรม ทำให้ ภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถพัฒนานโยบายและโครงการเพื่อส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมในระดับอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อเป็นการจัดอันดับแต่อย่างใดแต่เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักของผู้มีส่วน เกี่ยวข้องที่จะนำไปสู่การยกระดับความพร้อมของระบบนิเวศนวัตกรรมรายอุตสาหกรรม ดัชนีประเมินนี้จะมีความแตกต่างจากดัชนี ที่มีการเผยแพร่ตามสื่อโดยทั่วไปที่เป็นดัชนีการประเมินความพร้อมของระบบนิเวศนวัตกรรมในระดับประเทศ การประเมินในระดับ อุตสาหกรรมสามารถทำให้เห็นถึงจุดอ่อนและจุดแข็งในแต่ละอุตสาหกรรมได้ชัดเจนมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการสร้างองค์ ความรู้ กระบวนการพัฒนานวัตกรรม หรือความสัมพันธ์ของผู้เล่นที่อยู่ในระบบนิเวศ ผลของการประเมินของแต่ละอุตสาหกรรม สามารถนำมาเปรียบเทียบเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรม
ดัชนีนี้ถูกพัฒนามาจากแนวทางในการประเมินระบบนิเวศนวัตกรรมในระดับเทศและได้รับอิทธิพลมาจากดัชนีเหล่านี้ อาทิ เช่น Global Innovation Index หรือ Global Startup Ecosystem Report หรือ MIT’s Regional Entrepreneurship Acceleration Program เป็นต้น ขั้นตอนสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาองค์ประกอบเพื่อใช้ในการคำนวณค่าดัชนีประกอบด้วยการ ทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย (Focus Group) และการวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อตรวจสอบ คุณภาพของเครื่องมือกับกลุ่มตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจะเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมที่มาจากหลายภาคส่วน คือ บริษัทเอกชน วิสาหกิจเริ่มต้นใหม่ มหาวิทยาลัย หน่วยงานวิจัย สถาบันการเงินหรือร่วมลงทุน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
ระบบนิเวศนวัตกรรม คือ “วิวัฒนาการของผู้เล่น กิจกรรม และสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น รวมไปถึงสถาบันและความสัมพันธ์ที่เป็นทั้งการร่วมมือและการแข่งขัน ที่มีความส าคัญในการสร้างผลลัพธ์ของการ ดำเนินงานในด้านนวัตกรรมของผู้เล่นหรือกลุ่มของผู้เล่น”
ระบบนิเวศนวัตกรรมของอุตสาหกรรม
ระบบนิเวศนวัตกรรมของอุตสาหกรรมมีรากฐานเริ่มต้นมาจากแนวคิดของระบบนิเวศนวัตกรรมในระดับประเทศ หากแต่ในระดับอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นเฉพาะเจาะจงในกลุ่มขององค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ในด้านนวัตกรรม ของอุตสาหกรรม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมจะรวมถึงเครือข่ายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแนวนอน (Horizontals) คือ ผู้ เล่นที่อยู่ในห่วงโซ่มูลค่าตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ หรือ อาจจะเป็นเครือข่ายของผู้มีส่วนได้เสียที่อยู่ในแนวตั้ง (Verticals) ที่มี ส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม เช่น มีกลุ่มลูกค้า หรือซัพพลายเออร์เดียวกัน ทั้งนี้ ระบบนิเวศนวัตกรรมของอุตสาหกรรมในที่นี้จะ คลอบคลุมเฉพาะอุตสาหกรรมเฉพาะอย่างในประเทศเท่านั้น ได้แก่ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมดิจิทัล ในแง่ของการเชื่อมโยง อุตสาหกรรมอาหารอาจจะกล่าวได้ว่ามีห่วงโซ่มูลค่าที่ เกี่ยวโยงถึงทั้งการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมการผลิตอาหารส าเร็จรูป ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการสร้างนวัตกรรมสามารถที่จะเชื่อมโยงถึงกันได้ ในขณะที่อุตสาหกรรมดิจิทัลจะมีส่วนในการช่วยและส่งเสริมอุตสาหกรรมอื่น ดังนั้น ขอบเขตจะไม่ได้คลอบคลุม ไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่อยู่ในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมอื่น หากแต่มีขอบเขตเฉพาะของอุตสาหกรรมดิจิทัลเท่านั้น